fbpx

FULFILLMENT บริการคลังสินค้าออนไลน์ "เก็บ แพ็ค ส่ง"

6 สิ่งที่CEOต้องทำเผื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ในวิกฤต Covid-19

6สิ่ง cover
Education
Marketing

6 สิ่งที่CEOต้องทำเผื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ในวิกฤต Covid-19

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covid-19) ทำให้กรุงเทพและปริมลฑลทยอยปิดสถานที่บริการที่มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น สถานบันเทิง สถานที่จัดประชุม สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า ตลาด หรือคลีนิกเสริมความงามต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าต้องกระทบผู้ประกอบการณ์ทุกคนไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจขนาดเล็ก - ธุรกิจขนาดกลาง (SME) หรือ ธุรกิจขนาดใหญ่

          ดังนั้นคนที่เป็นผู้นำในยามวิกฤตแบบนี้ จะต้องเข็มแข็งและเตรียมวางแผนรับมือให้ดีครับเพราะการนิ่งเฉยไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป Podcast ล่าสุดจาก The standard พูดเกี่ยวกับ 6สิ่งที่ซีอีโอต้องทำทันทีในวิกฤตแบบนี้ไว้ได้น่าสนใจมาก ๆ ซึ่งตรงกับหลาย ๆ ข้อใน “SME ไทยทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดในช่วงวิกฤต COVID-19” ที่ผมเคยชี้แนะแนวทางสำหรับธุรกิจ SME ไป ดังนั้นวันนี้เราจะมาสรุปแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น เจาะไปที่การวางแผนโดยเฉพาะ เพื่อผู้ประกอบการณ์ทุกคนโดยเฉพาะเจ้าของกิจการให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ครับ

      1. แนวทางสำหรับพนักงานและลูกค้า


          เป็นสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดที่ควรจะต้องมีแผนรองรับนั่นก็คือ การปกป้องพนักงานและลูกค้าครับ สำหรับพนักงานของบริษัททุกคน ความปลอดภัยและความตื่นตัวอยู่เสมอเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นต้องปลุกพนักงานทุกฝ่ายให้ตื่น ให้รับรู้สถานการณ์ของบริษัทและพร้อมจะแก้ไข ปรับปรุงการทำงานตามแบบแผนที่อาจต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจรวมไปถึงการทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน มีหลาย ๆ องค์กรที่ตอนนี้เริ่ม Work from home กันแล้ว นั่นยิ่งทำให้การสื่อสารกับพนักงานอยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ต้องทำครับ

          สำหรับลูกค้าถ้าบริษัทมีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคระบาด ต้องมีมาตราการออกมาจัดการเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการพ่นยาฆ่าเชื้อหรือตรวจสอบสภาพร่างกาย อาการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าปลอดภัย ที่สำคัญคือ ต้องไม่กลัวที่จะลงทุนในจุดนี้ครับ ต้องพูดความจริง โปร่งใส และจริงใจต่อลูกค้าครับ

      2. การวางแผนทางการเงิน


           การประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตามความเป็นจริงคือสิ่งที่ต้องทำต่อมาครับ ตรวจสอบรายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน และงบการเงินที่เกี่ยวข้องทุกอย่าง ว่าคุณได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ส่วนนี้ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากหลายฝ่ายครับ ทั้งผู้บริหาร ฝ่ายการเงิน หรือฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรง เพื่อช่วยกันประเมินสถานการณ์และวางแผนรับมือสถานการณ์ที่แย่ที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นครับ ทำได้โดยประเมินว่ารายได้ที่ลดลงนั้น จะเป็นอย่างไรต่อไปจากผลกระทบทั้งหมดของตลาด รวมถึงกำไรขาดทุน ที่สามารถกำหนดเป็นสถานการณ์ ๆ ออกมาเลยและผู้ประกอบการมีสองทางเลือกหลัก ๆ คือ 1. ดึงเบรกมือทันที นั่นหมายถึงหยุดครับ ไม่ดำเนินแนวทางใด นอกจาก cut cost หรือ 2. ค่อยๆ เริ่มต้นทดลองแผนต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยกันวางแผนไว้

      3. รายได้ของบริษัท


            สิ่งที่ควรทำที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้รายได้ของบริษัทลดลงไปมากกว่าเดิม ซึ่งแน่นอนว่ารายได้จะต้องลดลงอยู่เเล้วในช่วงวิกฤต ดังนั้นในการวางแผนให้ลองคิดในมุมมองของผู้บริโภคดูครับ ถ้าคุณเป็นผู้บริโภคในช่วงเวลาแบบนี้ สิ่งใดที่คุณคิดว่าจำเป็นต้องซื้อ บริษัทคุณในมุมมองของพวกเขาเหล่านั้นน่าเชื่อถือพอหรือไม่ และลูกค้าจะเข้าถึงเราได้อย่างไรในสถานการณ์แบบนี้ เช่น หลาย ๆ ธุรกิจเริ่มหันมาทำออนไลน์เผื่อเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น หรือบางเจ้าก็มีบริการ delivery อีกด้วยครับ นอกจากจะวางแผนการบรรเทารายได้ที่จะลดลงดังกล่าวแล้ว ต้องพยายามมองหารายได้อื่น ๆ ที่จะทดแทนส่วนที่หายไปอีกด้วยครับ มองดูว่าต้นทุนที่มีอยู่พอจะขยับขยายหรือเปลี่ยนแปลงให้ตรงกับตลาดมากขึ้นได้อย่างไร เช่นตอนนี้ หลาย ๆ บริษัทก็ได้มีการปรับไปออนไลน์มากขึ้นอย่างที่กล่าวไปครับ

      4. รักษา Supply chain


          สิ่งที่จะมีผลกระทบกับองค์กรได้มากก็คือ operation ครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นคน เทคโนโลยี หรือทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กรถ้ามีส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบ ก็จะกระทบทุกส่วนด้วย การทำงานด้วยกันหรือการประสานงานของทุกฝ่ายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องวางแผนการทำงานในส่วนนี้ครับ ยิ่งตอนนี้รัฐบาลออกมาตราการแบบนี้ด้วยแล้ว ก็ต้องเตรียมแผนฉุกเฉินของแต่ละฝ่ายไว้ครับ หลาย ๆ บริษัทตอนนี้ ก็มีการดำเนินการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานข้ามแผนกเผื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำไอทีเข้ามาช่วยมากขึ้น หรือวางแผนการ work from home เพื่อรักษาเสถียรภาพของตัวพนักงานเอง และตัวงานให้มีประสิทธิภาพด้วยครับ  

       5. แนวทางสำหรับการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ


            หากวางแผนทั้ง 4 ข้อดังกล่าวไปข้างบนแล้ว ไม่เพียงพอ ขั้นต่อมาคือ การตัดค่าใช้จ่ายครับ หรือการรัดเข็มขัด เพื่อรักษาเงินสดเอาไว้ เพราะอย่างที่ผมพูดไปในหลาย ๆ Blog เลยครับว่า ชั่วโมงนี้เงินสดสำคัญที่สุด เพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัท ดังนั้นการวางแผน cost cut จำเป็นมากครับ นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกแล้ว บางครั้งหากต้องตัดสินใจตัดบางส่วนออกไป เพื่อประหยัดมากขึ้นก็ต้องทำครับ เพื่อรักษาส่วนที่สำคัญกว่าเอาไว้ ลักษณะที่องค์กรที่ควรจะเป็นตอนนี้คือต้อง ลีน (Lean) ที่สุดและต้องหันมาใช้เทคโนโลยีทดแทนได้เเล้วครับ เพื่อรับมือกับอนาคตหลังจากหมดช่วงไวรัสนี้แล้ว

      6. ไม่ใช่แค่ตั้งรับแต่ต้องบุกเต็มที่


           บอกได้เลยครับว่าตอนนี้ไวรัสกำลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนตลาด และเเนวทางของธุรกิจไปตลอดกาล เพราะหลังจากนี้ผู้คนจะหันไปพึ่งพาดิจิทัลมากขึ้น บางคนที่ไม่เคยสั่งของออนไลน์ ก็สั่ง ไม่เคยเดลิเวอร์อาหาร ก็จะทำมากขึ้น จากนั้นก็จะเคยชินไปกับความสะดวกสบายครับ รวมไปถึงการทำงานนอกสถานที่ที่อาจเกิดขึ้นด้วยครับ ดังนั้นแผนการตั้งรับรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่ต้องวางแผนครับ โดยมีแนวคิดคือ if…then… ถ้าเกิดแบบนี้ขึ้น คุณจะทำอะไรเพื่อตั้งรับทำมาให้เยอะที่สุด ครอบคลุมที่สุด รวมถึงคิดไปถึงผลเสียที่ร้ายเเรงที่สุดที่อาจเกิดขึ้นด้วยครับ สำหรับธุรกิจที่มีสภาพคล่องและถือว่านี่อาจเป็นโอกาสให้คุณได้เจออะไรใหม่ ๆ แล้วล่ะก็ การคิดหาวิธีการเพิ่มยอดขาย หรือขยายธุรกิจไปอีกก็เป็นสิ่งที่ควรเสี่ยงเหมือนกันครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูแนวโน้มของตลาดให้ดี เเล้วบุกเลยครับ 

          การวางแผนทุกข้อคือต้องทำทันที และทำอยู่ตลอดเวลานะครับ เพราะบางครั้งอาจมีการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ก็ต้องคอยตั้งรับอยู่เสมอครับ และที่สำคัญคือการวางแผนรับมือจากการกระทบน้อยไปมาก เพราะคุณต้องคำนึงถึงกรณีที่เลวร้ายที่สุด (worst case) เอาไว้เสมอครับ แล้วถ้าผ่านมันไปได้นี้ก็ถือเป็น กรณีศึกษา (case study) ที่มีค่าที่สุดเท่าที่องค์กรเคยประสบมา เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปครับ ยังไงผมก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังให้กับผู้ประกอบการณ์ทุกคนนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก The standard และ Bain & Company สนใจฟัง podcast เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/podcast/executive-espresso-ep36/


สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: hello@mycloudfulfillment.com
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

    ขอใบเสนอราคา

    ฟอร์มการติดต่อสอบถามและขอใบเสนอราคา